






วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย จ.สระแก้ว
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คนเอาถ่าน
ขั้นตอนการเก็บน้ำส้มควันไม้
1. เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเผาถ่าน จะเริ่มจุดไฟหน้าเตาเพื่อให้ความร้อนแก่เตา โดยจุดบริเวณช่องจุดไฟที่อิฐก้อนแรก โดยเชื้อเพลิงที่นำมาจุดควรเป็นเชื้อเพลิงแห้ง เช่น เศษไม้ เศษหญ้า หรือโฟม เป็นต้น
2. ใส่เชื้อเพลิงทีละน้อยเพื่อลดความร้อนจะกระจายเข้าไปในเตาเพื่อไล่อากาศเย็นและความชื้นที่อยู่ในเตา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง
3. เมื่อไล่ความชื้นในเตาแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้น จนทำให้เนื้อไม้ในเตารักษาอุณหภูมิในเตาได้เอง โดยไม่ต้องใส่เชื้อเพลิงเข้าไปอีก โดยสังเกตจากควันที่ออกมาจากปากปล่องด้านหลังจะพุ่งแรงกว่าปกติ เรียกว่า “ควันบ้า” มีสีขาวขุ่น ช่วงนี้สามารถหรี่ไฟหน้าเตาลงได้ครึ่งหนึ่ง
4. หลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง หรือสังเกตสีควันที่ปากปล่อง ถ้าเป็นสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้หรี่ไฟลงอีก ช่วงนี้เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้
โดยใช้ท่อไม้ไผ่ที่เจาะรูไว้ตลอดทั้งลำ โดยนำขวดน้ำผูกลวดแขวนรองน้ำส้มควันไม้ตรงจุดที่เจาะรูไว้ จะสามารถเก็บน้ำส้มควันไม้ได้ประมาณ 3-4 เดือน เมื่อน้ำที่หยดมามีลักษณะเป็นยางเหนียวและมีสีดำ ให้หยุดเก็บ รายละเอียดดังนี้
4.1 นำไม้ไผ่ยาวประมาณ 3-5 เมตร ตามความเหมาะสมให้มีขนาดพอดีหรือใหญ่กว่าท่อใยหินที่เป็นปล่องควันออกมาจากเตาเผาถ่าน ดังรูป
4.2 ใช้เลื่อยตัดลำไม้ไผ่ให้เป็นช่อง เพื่อใช้ในการเก็บน้ำส้มควันไม้ ดังรูป
4.3 นำผ้าชุบน้ำมาพันให้รอบไม้ไผ่ประมาณ 1 ข้อ เพื่อช่วยในการเก็บน้ำส้มควันไม้ โดยอาศัยกระบวนการควบแน่น และนำขวดพลาสติกตัดปลายด้านบนออกผูกกับลวด เพื่อเตรียมไว้รองรับน้ำส้มควันไม้ ดังรูป
4.4 การเก็บน้าส้มควันไม้ จะไม่เก็บทันทีหลังจากที่จุดไฟหน้าเตา ต้องให้มีควันบ้ามาก่อน ควันบ้าคือควันสีส้มๆ จะเกิดขึ้นหลังจากที่เวลาผ่านไปประมาณ 2-3 ชั่วโมง และเลิกเก็บตอนที่น้ำมันสีดำเริ่มออกมา (หมายเหตุ ไม้แต่ละชนิดจะใช้เวลาไม่เท่ากันทั้งนี้ต้องอาศัยการดูควัน และดูสีของน้ำส้มควันไม้)




